วันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2553

น้ำกับความสำคัญต่อร่างกายมนุษย์

อย่างที่เรา ๆ ท่าน ๆ ทราบกันถึงความสำคัญของน้ำดื่ม

          น้ำเป็นส่วนประประกอบที่สำคัญในร่างกายมนุษย์โดยแบ่งออกดังต่อไปนี้

ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาน้ำเป็นส่วนประกอบมากกว่า                  97%
ตั้งแต่เป็นทารกหลังคลอดน้ำเป็นส่วนประกอบมากกว่า               80%
เมื่อเราเติบโตขึ้นน้ำเป็นส่วนประกอบในร่างกายมากกว่า             70%
เมื่อเราแก่ตัวลงน้ำจะเป็นส่วนประกอบในร่างกายมากกว่า           60%
เมื่อมนุษย์อายุตั้งแต่ 99 ปีขึ้นไปน้ำเป็นส่วนประกอบมากกว่า      50%

ดังนั้นน้ำจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ในแต่ละช่วงชีวิตช่วงวัย
น้ำเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายให้เป็นไป
ได้อย่างปกติ นอกเหนือจากนี้ น้ำยังช่วยละลายวิตามินและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์
รวมไปถึงการนำพาสารอาหารให้ไหลเวียนไปตามเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย ระบบการ
จัดสรรปันส่วนน้ำอย่างเหมาะสมของร่างกาย น้ำต่อความสำคัญในร่างกายจึงแบ่งออก
เป็นเช่นดังต่อไปนี้

ระบบการทำงานของ  สมอง                    75%
ระบบการทำงานของ  หัวใจ                     75%
ระบบการทำงานของ  ปอด                      86%
ระบบการทำงานของ  ตับ                        86%
ระบบการทำงานของ  ไต                        83%
ระบบการทำงานของ  กระเพาะ                73%
ระบบการทำงานของ  ลำไส้                     73%ะ
ระบบการทำงานของ  กล้ามเนื้อ               75%
ระบบการทำงานของ  เลือด                     83%
ระบบการทำงานของ  กระดูก                   22%

น้ำจะนำพาสารเคมีต่าง ๆ เช่นวิตามิน เกลือแร่ ฮอร์โมนและเอนไซม์ที่ถูกนำพาไปนั้น
จะไปถึงอวัยวะที่สำคัญก่อนเป็นอันดับแรก ๆ เช่น สมอง หัวใจ ไต และปอด นอกจาก
นี้น้ำยังมีส่วนในการนำพาสารเคมีที่ผลิตและหลั่งออกจากอวัยวะต่างๆ ในร่างกายและ
ปล่อยออกมาเป็นของเหลว

บทบาทที่สำคัญของน้ำในร่างกาย

      น้ำช่วยสร้างพลังงาน และพลังงานนี้จะถูกสะสมอยู่ในร่างกายโดยร่วมกับสารเคมี
อื่น ๆที่เป็นแหล่งพลังงานในร่างกาย  พลังงานที่ถูกสร้างขึ้นจากน้ำในเซลล์จะช่วยส่ง
กระแสกระตุ้นเซลล์ประสาทในส่วนต่างๆ
      น้ำช่วยสารสารที่มีลักษณะคล้ายกาวซึ่งจะช่วยเชื่อมประสานผนังเซลล์ให้ยึดติด
กันได้เป็นอย่างดี
      น้ำช่วยรักษาความชุ่มชื้นของผนังอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย
      น้ำช่วยรักษาปริมาณและระดับความเข้มข้นของของเหลวในร่างกาย เช่น เลือด
น้ำเหลือง ให้เป็นความสมดุลและเป็นปกติ
      น้ำช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ขับถ่ายสารพิษและสารอันตรายออกจากตัว
ของเราโดยผ่านทางปัสสาวะ เหงื่อ และลมหายใจ (จำไว้ว่าสารเคมีประเภทโลหะเบา
จะถูกกำจัดทางปัสสาวะ  สารเคมีประเภทโลหะหนักจะขับผ่านทางอุจจาระ)
      ช่วยทำให้เราไม่มีอาการท้องผูก หากดื่มน้ำเพียงพอ
      น้ำช่วยไตในการขจัดของเสียออกจากร่างกาย ยาและสารพิษต่าง ๆ ที่ตกค้างในไต
      น้ำช่วยบำรุงรักษาและหล่อลื่นข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกาย
      น้ำมีส่วนกับโปรตีนและเอนไซม์จะทำงานได้อย่างเต็มที่ก็ต่อเมื่อภายในร่างกายของ
เรามีน้ำอย่างเพียงพอต่อการใช้งาน
      น้ำจะช่วยย่อยและดูดซึมอาหาร

ภาวะขาดน้ำจะส่งผลต่อร่างกายอย่างไร?

     ภาวะขาดน้ำจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายสูญเสียน้ำอย่างรุนแรง ส่งผลให้ระดับของโพแทสเซียม
โซเดียม และคลอไรด์ในร่างกายไม่สมดุล โดยปกติแล้วภาวะขาดน้ำจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายสูญเสีย
น้ำอย่างรวดเร็ว จากอาการไข้ ท้องร่วง และอาเจียน เป็นต้น
     เมื่อร่างกายของเราประสบภาวะขาดน้ำเราจะรู้สึกกระหายน้ำ ผิวหนังไม่มีความยืดหยุ่น ผิวแห้ง
ปัสสาวะน้อยลง อารมณ์ฉุนเฉียว และสับสน อาการเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของกลไกตามธรรมชาติของร่างกายที่จะแสดงออกมาเมื่อร่างกายไม่สามารถจัดสรรปันส่วนน้ำที่มีอยู่น้อยนิดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายและอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ในร่างกาย

สัญญาณการขาดน้ำ

      ความรู้สึกกระหายน้ำเป็นอาการแรกที่ร่างกายจะแสดงออกมาเมื่อได้รับน้ำไม่เพียงพอแต่ในกรณีที่ภาวะขาดน้ำเกิดขึ้นกับบางส่วนของร่างกาย เราอาจจะไม่รู้สึกกระหายน้ำเลยก็เป็นไปได้แต่
การที่อวัยวะสำคัญแต่ละส่วนได้รับน้ำไม่เพียงพอจะส่งผลให้อวัยวะนั้นทำงานผิดพลาด อาการหรือ
สัญญาณต่าง ๆ ที่ร่างกายแสดงออกมาจะขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ได้รับผลกระทบ การเจ็บป่วยเรื้อรังและอาการแพ้ต่างๆ เป็นอาการที่พบได้บ่อยเมื่ออวัยวะบางส่วนทำงานได้อย่างจำกัดเนื่องจากภาวะขาดน้ำเรื้อรัง เมื่ออวัยวะใด ๆ ก็ตามเกิดการขาดน้ำสมองจะควบคุมการใช้น้ำโดยหลั่งสารฮิสตามีนออกมาระบบจัดสรรปันส่วนน้ำจะเริ่มทำงาน อาการปวด เป็นอาการที่บอกให้รู้ได้ว่าอวัยวะบางส่วนประสบภาวะขาดน้ำ อาการปวดที่พบได้บ่อยเนื่องจากการขาดน้ำคือ อาการปวดท้องหลังอาหาร อาการปวดศรีษะ เจ็บหน้าอก ปวดตามข้อ และปวดหลัง

จะทำอย่างไรถึงจะดื่มน้ำได้อย่างเพียงพอ?

      ผุ้ชายโดยปกติทั่วไปจะต้องการน้ำอยู่ประมาณเฉลี่ย 3 - 3.5 ลิตร ต่อวัน ผู้หญิงจะต้องการน้ำโดยประมาณเฉลี่ย 2.5 - 3 ลิตรต่อวัน เด็กเฉลี่ยประมาณ 2 - 2.5 ลิตรต่อวัน
      อาจจะมีความรู้สึกยุ่งยากว่าการดื่มน้ำนั้นอาจจะไม่เพียงพอ อาจทำให้สมบูรณ์ได้โดยการแบ่งช่วงของการดื่มน้ำดังนี้

      ก่อนนอน 2 แก้ว โดยทั้ง 2 แก้วจะมีปริมาณขั้นต่ำ  250 มล.
      ตื่นนอน   2 - 3 แก้ว ให้ได้อย่างต่ำ 500 - 750 มล.
      ในช่วงเวลา  2 - 3 ชม. ให้จิบน้ำไปเรื่อย ๆ ให้ได้ประมาณ เท่ากับ   6  แก้ว โดยแต่ละแก้ว
      เฉลี่ยแก้วละ 250 มล. (ดื่มครึ่งเช้่า 3 แก้ว ช่วงบ่ายหลังทานอาหาร 1 ชม. อีก 3 แก้ว)

      การดื่มน้ำไม่ควรจะดื่มแบบรวดเดียวหมดทั้งแก้ว ควรใช้วิธี จิบแล้วอมไว้สักครู่เพื่อให้น้ำและเอนไซม์ของน้ำลายผสมกัน ในช่วงของการทานอาหารไม่ควรดื่มน้ำระหว่างทานอาหารเนื่องจาก
การผลิตน้ำย่อยจะไปปนกับน้ำ ทำให้ประสิทธิภาพของการย่อยอาหารเป็นไปได้ไม่ดี เราจึงควรดื่มน้ำก่อนการทานอาหารอย่างน้อยสักชั่วโมงครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง หรือ ดื่มน้ำหลังจากการทานอาหาร ในช่วง สิบนาทีหลังการทานอาหารหรือจะให้ดีที่สุดคือ สาม ชั่วโมงหลังการรับประทานอาหาร

       เมื่อเราเป็นไข้ เราจะต้องดื่มน้ำ มาก ๆ เพื่อลดอุหณภูมิของร่างกาย จำเป็นที่จะต้องจิบน้ำให้ได้ 1 แก้ว ต่อ  1 ชม. เพื่อชดเชยน้ำที่สูญเสียไป และน้ำจะทำให้ร่างกายเย็นลง และที่สำคัญน้ำ
จะทำให้เสมหะลดความหนืดความเหนียวลง

        การดื่มน้ำมาก ๆ จะทำให้กากใยอาหารเคลื่อนตัวไปยังลำไส้ใหญ่ได้ง่ายขึ้น ผู้ที่มีปัญหาท้องผูกเป็นประจำควรดื่มน้ำให้ได้ขั้นต่ำวันละ 10 - 12 แก้ว

       หากคุณเป็นโรคเกาต์ คุณควรที่จะดื่มน้ำมาก ๆ กว่าปกติ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์ทั้งหลาย รวมทั้งอาหารที่มีพิวรีนสูง จำพวก ปลาซาร์ดีน สัตว์ทะเลต่าง ๆ

       หากคุณเป็นโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ควรดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อช่วยในการย่อยและนำพากากใยอาหาร

       เมื่อคุณติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ไม่ว่าจะเพศใด คุณควรดื่มน้ำมาก ๆ เพราะน้ำจะช่วยในการนำสารพิษ สารเคมี เชื้อโรค แบคทีเรียต่าง ๆ โดยขับออกไปพร้อมกับปัสสาวะ และหายได้เร็ว

       สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคข้อต่อ หรือปวดกล้ามเนื้อ ผู้ที่มีอาการเกี่ยวข้องกับการบวมของข้อต่อ
กล้ามเนื้อ ผิวบริเวณข้อต่อ จะทำให้รู้สึกปวด เคลื่อนไหวไม่สะดวกหรือรุนแรงจนทำให้กล้ามเนื้อหรือข้อต่อเกิดการเสื่อม ผู้ที่เป็นโรคประเภทเหล่านี้ควรดื่มน้ำมาก ๆ เพราะน้ำจะช่วยเจือจางเลือดและระดับของกรดยูริกที่ปะปนอยู่ในเลือดให้ถูกขับออกไปตามปัสสาวะ

วันนี้คุณดื่มน้ำเพียงพอแล้วหรือยัง
 
     

ไม่มีความคิดเห็น: